วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แหล่งที่มาของนิติศาสตร์อิสลาม

แหล่งที่มาของนิติศาสตร์อิสลาม
อัลกุรอานใช้ให้ละหมาด แต่ไม่ได้บอกวิธีการละหมาด แล้วจะเราจะละหมาดกันอย่างไร













แหล่งที่มาของนิติศาสตร์อิสลาม

นิติศาสดร์อิสลามก็คือ ประมวลข้อกำหนดต่าง ๆ ของบัญญัติศาสนา ที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาใช้ให้มวลบ่าวของพระองค์ยึดข้อกำหนดเหล่านั้น

และข้อกำหนดเหล่านี้ทั้งหมด ก็จะกลับคืนไปสู่แหล่งที่มาทั้งสี่แหล่งดังต่อไปนี้ :

1-อัลกุรอาน

2-ซุนนะฮ์

3 -อิจมาอ

4- กิยาส


1-อัลกุรอาน

อัลกุรอานคือ คำของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ที่พระองค์ได้ประทานลงมายังนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.)เพื่อชี้นำมนุษย์ออกจากความมืดสู่แสงสว่าง

และคือข้อความที่ถูกบันทึกลงในแผ่นบันทึกต่าง ๆ

อัลกุรอานคือแหล่งที่มาและเป็นที่อ้างอิงของข้อกำหนดต่าง ๆ ในนิติศาสตร์อิสลาม

เมื่อเกิดปัญหาใดขึ้นเราจะต้องกลับไปสู่อัลกุรอาน ก่อนอื่นใดเพื่อค้นหาข้อกำหนดของปัญหานั้น ๆ

เมื่อเราพบก็จะต้องยึดเอามาปฏิบัติโดยไม่ต้องกลับไปสู่สิ่งอื่นใดอีก

ดังนั้นเมื่อเราถูกถามถึงข้อกำหนดของ สุรา การพนัน การยกย่องบูชารูปเคารพ และการเสี่ยงทายด้วยติ้ว

เราจะกลับไปสู่อัลกุรอาน เราก็จะพบอัลเลาะฮ์ตะอาลาตรัสไว้ว่า



90. ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้ว(*1*)

นั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอนดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ

(1) การเสี่ยงติ้ว คือดุ้นไม้ที่เหลาคล้ายลูกธนูรวมสามดุ้นด้วยกัน ดุ้นหนึ่งเขียนไว้ว่า “พระเจ้าใช้ฉัน”

อีกดุ้นหนึ่งเขียนว่า “พระเจ้าห้ามฉัน” และอีกดุ้นหนึ่งมิได้เขียนอะไรไว้ ถ้าพวกเขาต้องการจะทำสิ่งใด

ก็จะทำการเสี่ยงทายด้วยติ้วดังกล่าว ถ้าจับได้ติ้วที่มิได้มีข้อเขียนใด ๆ ก็จะจับใหม่จนกว่าจะได้ติ้วที่แนะนำให้ทำหรือมิให้ทำ

อย่างไรก็ดี เครื่องเสี่ยงทายนั้นมีประเภทอื่น ๆ อีก ซึ่งก็อยู่ภายใต้ข้อห้ามนี้ทั้งหมด


และเมื่อเราถูกถามถึงเรื่องการซื้อขาย ดอกเบี้ย(ริบา) เราก็จะพบข้อกำหนดเหล่านี้อยู่ใน อัลกุรอานเช่นเดียวกัน

อัลเลาะฮ์ตะอาลาตรัสไว้ว่า



275. บรรดาผู้กินดอกเบี้ยนั้น พวกเขาจะไม่ทรงตัว นอกจากจะเป็นเช่นเดียวกับผู้ที่ชัยฏอนทำร้ายเขาทรงตัว

พวกเขากล่าวว่า ที่จริงการค้าขายนั้นก็เหมือนการเอาดอกเบี้ยนั้นเอง และอัลลอฮ์นั้นทรงอนุมัติการขาย และทรงห้ามการเอาดอกเบี้ย

ดังนั้นผู้ใดที่การตักเตือนจากพระเจ้าของเขาได้มายังเขา แล้วเขาก็เลิก สิ่งที่ล่วงแล้วมาก็เป็นสิทธิของเขา

และเรื่องของเขานั้นย่อมกลับไปสู่อัลลอฮ์ และผู้มดกลับ(กระทำ) อีก

ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรกโดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล

และเมื่อเราถูกถามถึงเรื่องฮิญาบ (การปกปิดอย่างมิดชิด)เราก็จะพบอัลเลาะฮ์ตะอาลาตรัสไว้ว่า



31. และจงกล่าวเถิดมุฮัมมัดแก่บรรดามุอ์มินะฮ์ให้พวกเธอลดสายตาของพวกเธอลงต่ำ และให้พวกเธอรักษาทวารของพวกเธอ

และอย่าเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้และให้เธอปิดด้วยผ้าคลุมศรีษะของเธอลงมาถึงหน้าอกของเธอ

และอย่าให้เธอเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่แก่สามีของพวกเธอ หรือบิดาของสามีของพวกเธอ หรือลูกชายของพวกเธอ

หรือลูกชายสามีของพวกเธอ หรือพี่ชายน้องชายของพวกเธอ หรือลูกชายของพี่ชายน้องชายของพวกเธอ

หรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของพวกเธอ หรือพวกผู้หญิงของพวกเธอหรือที่มือขวาของพวกเธอครอบครอง

(ทาสและทาสี)หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเพศสงวนของผู้หญิง

และอย่าให้เธอกระทืบเท้าของพวกเธอ เพื่อให้ผู้อื่นรู้สิ่งที่พวกเธอควรปกปิดในเครื่องประดับของพวกเธอ

และพวกกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮ์เถิด โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ

และเช่นเดียวกับคำดำรัสของอัลเลาะห์ตาอาลาที่ว่า



59. โอ้นะบีเอ๋ย ! จงกล่าวแก่บรรดาภริยาของเจ้า และบุตรสาวของเจ้า และบรรดาหญิงของบรรดาผู้ศรัทธา

ให้พวกนางดึงเสื้อคลุมของพวกนางลงมาปิดตัวของพวกนาง นั่น เป็นการเหมาะสมกว่าที่นางจะเป็นที่รู้จัก

เพื่อที่พวกนางจะไม่ถูกรบกวน และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้อภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ

จะเห็นได้จากตัวอย่างเหล่านี้ว่า อัลกุรอาน เป็นแหล่งอ้างอิงแหล่งลำดับแรกก่อนแหล่งอ้างอิงอื่น

สำหรับข้อกำหนดต่าง ๆของนิติศาสตร์อิสลาม แต่อัลกุรอานก็ไม่ได้ให้รายละเอียด

และประเด็นปลีกย่อยของทุกปัญหา เพราะถ้าหากเป็นเช่นนั้นอัลกุรอานก็คงจะต้องมีขนาดใหญ่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้อีกหลายเท่า

แท้ที่จริงแล้วตัวบทชัดแจ้งในอัลกุรอานจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักอะกีดะห์ (หลักศรัทธา)

แต่ในเรื่องอิบาดัต และมุอามะลาตแล้ว อัลกุรอานจะให้ไว้แต่เพียงหลักกว้าง ๆ เท่านั้น และอัลกุรอาน

ยังได้วางแบบแผนกว้าง ๆ ให้กับการดำเนินชีวิตของมวลมุสลิม โดยปล่อยให้ซุนนะห์ นะบะวียะห์ ทำ

หน้าที่อธิบายและให้รายละเอียด อาทิเช่น อัลกุรอานใช้ให้ละหมาด โดยไม่ได้อธิบายวิธีการละหมาด

และไม่ได้กำหนดจำนวนรอกาอัตไว้ให้

อัลกุรอานใช้ให้ออกซะก๊าต แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขนาดและพิกัดของซะก๊าตไว้ และ

ไม่ได้เอ่ยถึงทรัพย์สินที่จำเป็นต้องออกซะก๊าตว่ามีอะไรบ้าง และอัลกุรอานได้ใช้ให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลง

กันไว้ แต่ก็ไม่ได้อธิบายถึงข้อสัญญาที่ใช้ได้ และมีผลบังคับจำเป็นต้องปฏิบัติ และอี่น ๆ ที่เป็นข้อปลีกย่อย

อีกมากมาย

ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอานจึงสัมพันธ์กันอย่างแน่นเหนียวกับซุนนะห์ นะบะวียะห์ (คำพูด การกระทำ

และการยอมรับของท่านนบี (ซ.ล.)) ทั้งนี้เพื่อซุนนะห์จะได้ทำหน้าที่อธิบายแนวทางกว้าง ๆ ของอัลกุรอาน

ให้รัดกุมขึ้น และทำหน้าที่ให้รายละเอียดในประเด็นที่ยังคลุมเครืออยู่


2-ซุนนะห์

ซุนนะห์ คือ ทุกสิ่งที่รายงานมาจากท่านนบี (ซ.ล.) ทั้งที่เป็นการกระทำ หรือคำพูด หรือการยอมรับ

ตัวอย่างที่เป็นคำพูด :

ฮะดีษที่รายงานโดยบุคอรี (48) และมุสลิม (64) จากท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า :

سباب المسلم فسوق وقاله كفر

“การด่ามุสลิมนั้นเป็นการละเมิด ส่วนการสังหารมุสลิมนั้นเป็นกุฟรฺ (เป็นผู้ไร้ศรัทธา)”

ตัวอย่างที่เป็นการกระทำ : ฮะดีษที่บุคอรีรายงานจากอาอิชะห์ (ร.ด.) ขณะเมื่อถูกถามว่า

ما كان يصنع رسول الله في بيته ؟ قالت كان يكون في مهنة أهله فإﺫ حضرت الصلاة قام إليها

“ท่านรอซูลุ้ลเลาะฮ์ (ซ.ล.) ได้กระทำอะไรบ้างขณะที่ท่านอยู่บ้าน?อาอิชะห์ตอบว่า

ท่านจะช่วยงานของคนในครอบครัวและเมื่อถึงเวลาละหมาดท่านก็จะละหมาด


ตัวอย่างที่เป็นการยอมรับ : ฮะดีษที่อะบูดาวูด (1267) ได้รายงานว่า

أن النبي صلى الله عليه وسلم رأى رجلا يصلي بعد الصلاة الصبح ركعتين فقال صلاة الصبح ركعتان فقال الرجل إني لم أكن صليت الركعتين التي قبلها فصليتهما الآن فسكت رسول الله صلى الله عليه وسلم

ท่านนบี (ซ.ล.) เห็นชายผู้หนึ่งละหมาดหลังจากละหมาดซุบฮิสองรอกาอัตท่านได้กล่าวว่า

(ละหมาดซุบฮิมีสองรอกาอัต) ชายคนนั้นได้ตอบว่า : ฉันยังไม่ได้ล่ะหมาด (สุนัต) สองรอกาอัต

ที่อยู่ก่อนสองรอกาอัตของละหมาดซุบฮิ ฉันจึงได้ละหมาดสองรอกาอัต นั้นในทันที ท่านรอซูลุ้ลเลาะฮ์

(ซ.ล.) นิ่งเงียบ และถือว่าการนิ่งเงียบของท่านเป็นการยอมรับบัญญัติที่ว่า ละหมาดสุนัตกอบลียะห์ (ก่อน)

นั้นให้ละหมาดภายหลังละหมาดฟัรดูได้สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ละหมาดสุนัตกอบลียะห์ก่อนละหมาดฟัรดู

ตำแหน่งของซุนนะฮ์

หน้าที่ของซุนนะฮ์ก็คือ อธิบายและทำให้ความหมายของอัลกุรอานชัดเจน อัลกุรอานนั้นดังได้

กล่าวแล้วว่า ได้ระบุถึงการละหมาดไว้อย่างสรุป ซุนนะฮ์ได้มาทำหน้าที่อธิบายวิธีการละหมาดทั้งที่เป็น

คำกล่าว และการกระทำ มีฮะดีษซอเฮียะฮ์จากท่านรอซูล้ลเลาะฮ์ (ซ.ล.) กล่าวว่า

صلوا كما رأيتموني أصلي

“ท่านทั้งหลายจงละหมาด เหมือนที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด” (รายงานโดยบคอรี 605)

และอีกเช่นกันที่ซุนนะฮ์ไต้ทำหน้าที่ขยายความเรื่องพิธีการฮัจย์ ท่านรอซูลุ้ลเลาะฮ์ (ซ. ล.) ได้

กล่าวไว้ว่า

خدوا عني مناسككم

“ท่านทั้งหลายจงเอาพีธีการฮัจย์และอุมเราะฮ์ไปจากฉัน” (รายงานโดยบุคอรี)

และซุนนะฮ์ก็ได้ทำหน้าที่อธิบายข้อตกลงที่ใช้ได้และมีผลบังคับและข้อตกลงที่ศาสนาห้ามในเรี่อง

มุอามะลาตและอื่น ๆ

และยิ่งไปกว่านั้น ซุนนะฮ์ยังได้ทำหน้าที่บัญญัติสิ่งที่อัลกุรอานไม่ได้ระบุไปถึงและไม่ได้บัญญัติ

ข้อกำหนดไว้ เช่น การห้ามสวมแหวนทอง และกุารสวมผ้าไหมสำหรับผู้ชาย

สรุปได้ความว่า : ซุนนะฮ์ถือเป็นแหล่งที่สอง รองจากอัลกุรอาน และการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ถือ

เป็นวาญิบ และชุนนะฮ์ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าใจอัลกุรอานและการปฏิบัติตามอัลกุรอาน

3-อิจมาอฺ

ความหมายของอิจมาอ : คือ นักวิชาการที่เป็นมุจตะฮิจ (คือผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์หา

ข้อกำหนดจากตัวบทอัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้เอง) ทั้งหมดจากอุมมะฮ์ของนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ในยุคใด

ยุคหนึ่งได้มีความเห็นพ้องต้องกันในข้อกำหนดใด ๆ ของศาสนา เมี่อนักวิชาการเหล่านั้นมีความเห็นพ้อง

ต้องกัน ไม่ว่าจะเป็นยุคของซอฮาบะฮ์ หรือยุคหลังจากนั้นในข้อกำหนต่างๆ ของศาสนา ความเห็นพ้อง

ต้องกันของพวกเขาถือว่า เป็น อิจมาอฺและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่พวกเขาเห็นพ้องต้องกันก็ถือว่า

เป็นวาญิบ หลักฐานในเรื่องดังกล่าวนี้ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า :

أن علماء المسلمين لا يجتمعون على ضلالة فما اتفقوا عليه كان حقا

“นักวิชาการ (อุละมาอ) มุสลิมนั้นปะไม่มีมติกัน ในความหลงผิต ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาเห็นพ้อง

กัน จีงถือว่าเป็นสัจจะ

อะห์มัดได้รายงานไว้ในมุสนัด (6/356)

عن أبي بصرة الغفاري رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم

قال سألت الله عز وجل أن لا يجمع أمتي على ضلالة فأعطانيها

ตัวอย่างในเริ่องดังกล่าวก็คือ การที่ซอฮาบะฮ์มีมติ (อิจมาอฺ) กันว่าปู่จะได้เศษหนึ่งส่วนหกของ

กองมรดก เมี่อร่วมกับลูกผู้ชายของผู้ตายขณะที่ไม่มีพ่อของผู้ตายเป็นทายาท


ตำแหน่งของอิจมาอ

อิจมาอเป็นหลักฐานอ้างอิงงานลำดับที่สาม ถ้าหากเราไม่พบข้อกำหนดในอัลกุรอานและซุนนะฮ์

ก็ให้เราพิจารณาดูว่า มีนักวิชาการมุสลิมได้ลงมติในข้อกำหนดนั้นหรือไม่ ถ้าเราพบว่ามีก็ให้ยึดถือและ

ปฏิบัติตามนั้น


4-กิยาส

คือการนำเอาเรื่องที่ไม่มีข้อกำหนดของศาสนาไปเปรียบเทียบกับอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีตัวบทระบุชัด

ถึงข้อกำหนดของมัน และที่นำไปเปรียบเทียบก็เพราะมีเหตุผลอย่างเดียวกัน และหลักกิยาสนี้เราจะใช้

อ้างอิงได้ต่อเมื่อเราไม่พบข้อกำหนดของประเด็นหนึ่งประเด็นใดอยู่นอัลกุรอานานซนนะฮ์และอิจมาอฺ


ตำแหน่งของกิยาส :

ดังนั้นกิยาสจึงเป็นหลักฐานอ้างอิงลำดับที่สี่

องค์ประกอบสัาคัญของกิยาส :

มีสี่ประการ : หลักเดิมที่ถูกเปรียบเทียบ ประเด็นปลีกย่อยที่ถูกนำไปเปรียบเทียบ

ข้อกำหนดของหลักเดิมที่ระบุชัด และเหตุผลร่วมระหว่างหลักเดิมกับประเด็นปลีกย่อย


ตัวอย่างกิยาส

แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงห้ามสุรา โดยระบุชัดเจนานอัลกุรอาน เหตุผลที่ห้ามก็คือสุราเป็นต่ำที่ทำให้

มึนเมา ทำโห้ขาดสติ ดังนั้นเมื่อเราพบเครื่องดื่มชนิดใดก็ตามแม้จะไม่ได้ใช้นามว่าสุราก็ตาม หากเรา

พบว่าเครื่องดื่มนี้ทำให้มึนเมาเราก็ตัดสินได้เลยว่ามันเป็นสิ่งต้องห้าม โดยใช้หลักกิยาสกับสุราเพราะเหตุผล

ที่ห้ามก็คือ การทำให้มึนเมา


เหล่านี้คือแหล่งที่มาของบัญูญัดิศาสนาที่ข้อกำหนดด่าง ๆ ของหลักนิติศาสตร์อิสลามใช้อ้างอิง

และที่ได้นำมากล่าวไนที่นี้ก็เพอให้เกิดประโยชน์โดยสมบูรณ์ ส่วนรายละเอียดในเรื่องนี้มีอยู่ในหนังสือ

(รากฐานวิชานิติศาสดร์อิสลาม) ทั่ว ๆ ไป

Oleh : miftah cairo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น